วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

แจกฟรี แบบอาคารพาณิชย์ 14 แบบ พร้อมร้าน 7-eleven


แจกฟรี แบบอาคารพาณิชย์ 14 แบบ ขนาด 1 - 3 ชั้น พร้อมร้าน 7-eleven แบบชุดนี้ ยกเครดิตให้ kunpichet สมาชิกของเว็บชมรมช่างท้องถิ่นเวียงแก่น ส่งมอบมาให้ศึกษากันดูนะครับ ไฟล์ทั้งหมดเป็น ไฟล์ dwg (เปิดด้วยโปรแกรม AutoCAD) ซึ่งแบบอาคารพาณิชย์ชุดนี้ ค่อนข้างจะออกแบบได้ลงตัว ตามพื้นที่ก่อสร้างที่มีอยู่อย่างจำกัด เหมาะสำหรับ ท่านที่ที่ดินเปล่าอยู่แล้ว อยากจะก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ขนาด 1 - 3 ชั้น เพื่อจะได้เป็นพันธมิตรกับ 7-eleven ร้านสะดวกซื้อชื่อดังระดับโลก
รายละเอียดมีดังนี้
- แบบสถาปัตย์ 14 แบบ(สาขา)
- ข้อกำหนดทางวิศวกรรม
- ระบบสุขาภิบาล มีตัวอย่างแค่บางสาขา
- แบบโครงสร้าง มีตัวอย่างแค่บางสาขา
Save ไว้ให้ 4 เวอร์ชั่น คือ CAD V.2000,2004,2007,2010
ต้องขอขอบคุณ ท่าน kunpichet มา ณ โอกาศนี้นะครับ ที่ได้มอบแบบอาคารพาณิชย์ชุดนี้ ให้ทางชมรมฯและมวลหมู่สมาชิกฯได้ศึกษาเป็นวิทยาทาน












เกล้ดความรู้คู่บ้าน:การตรวจสอบการวิบัติของอาคารเนื่องจากฐานรากชำรุด
บทความจาก: Home Care
ผู้แต่ง: D Fine Consultant Co., Ltd.

การวิบัติของอาคารสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การออกแบบโครงสร้างที่ผิดพลาด การก่อสร้างที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม หรือการควบคุมงานไม่ดี เป็นต้น การวิบัติของอาคารเนื่องจากสาเหตุข้างต้น สามารถสังเกตเห็นอาการที่เริ่มเกิดขึ้นได้

ตั้งแต่แรก เช่น การเริ่มร้าวของคาน แต่การวิบัติของอาคารที่เกิดจากฐานรากนั้น ในเบื้องต้นยากที่จะสังเกตเห็น เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นอยู่ใต้พื้นดิน ส่วนมากเมื่อพบอาการแตกร้าวของโครงสร้าง นั้นหมายถึงว่าได้มีการทรุดตัวของฐานรากมานานแล้ว และหากอัตราการทรุดตัวนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี อาคารทั้งหลังอาจถล่มลงมาได้ การแก้ไขฐานรากที่ชำรุดนั้นกระทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงควรรู้ให้เท่าทัน และรีบแก้ไขหรือห้องกันจะเป็นการดีที่สุด

สาเหตุของฐานรากที่ทรุดตัวไม่เท่ากัน ดังนี้

1. เสาเข็มยาวไม่เท่ากัน
            อาคารวิบัติที่มีสาเหตุจากกรณีนี้พบบ่อยมากในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เนื่องจากในอาคารหลังเดียวกันซึ่งมีฐานรากต่อเนื่องกันนั้น จำเป็นที่จะต้องมีเสาเข็มที่มีความยาวที่เท่ากัน โดยเฉพาะในเขตภาคกลาง ทั้งนี้เพราะชั้นดินอ่อน และชั้นดินแข็งอยู่ต่างระดับกัน หากเลือกใช้เสาเข็มที่มีความยาวต่างกันมากในอาคารหลังเดียวกันปลายเสาเข็มจะจมอยู่ในดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน การทรุดตัวก็จะไม่เท่ากันด้วย

2. สร้างอาคารใหม่ติดกับอาคารเดิม
            หากอาคารสองหลังเชื่อโครงสร้างติดกัน โดยอาคารเดิมใช้เสาเข็มยาวกว่าอาคารใหม่ที่สร้างขึ้นภายหลัง อาคารเดิมจะทรุดตัวน้อยมาก ขณะที่อาคารใหม่จะยังคงทรุดตัวเริ่มต่างกันระหว่างอาคารเดิมและอาคารใหม่ และรอยร้าวดังกล่าวก็จะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

3. ดินใต้ฐานรากมีสภาพต่างกัน
            กรณีนี้พบได้บ่อยตามสถานที่ก่อสร้างที่เคยเป็นแอ่งน้ำหรือบ่อน้ำมาก่อน จะทำให้ฐานรากตำแหน่งดังกล่าวทรุดตัวมากกว่าตำแหน่งข้างเคียง เพราะพื้นดินตำแหน่งนั้นรับน้ำหนักได้น้อยกว่าตำแหน่งอื่นเป็นผลให้ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน

4. การก่อสร้างอาคารที่มีระดับความสูงไม่เท่ากัน
             โดยทั่วไปอาคารที่มีระดับความสูงมากกว่า จะออกแบบเสาเข็มให้รับน้ำหนักมากกว่า จึงทำให้มีการทรุดตัวที่มากกว่าด้วย แม้ว่าอาคารสูงและอาคารที่ต่ำกว่า จะออกแบบให้เสาเข็มมีความลึกเท่ากัน แต่การทรุดตัวของอาคารที่สูงที่มากกว่า จะทำให้เกิดรอยแยก และแตกร้าวระหว่าโครงสร้างอาคารทั้งสอง ดังนั้นในการออกแบบจึงควรพิจารณาแยกหรือต่อรวมโครงสร้างทั้งสองประเภท 

            หากคุณพบรอยแตกร้าว และไม่มั่นใจว่าเป็นรอยแตกร้าวจากการทรุดตัวหรือไม่ สามารถใช้เคล็ดลับการตรวจสอบอาคารด้วยวิธีการต่อไปนี้
            1. สังเกตรอยแตกร้าว หากเป็นเส้นทแยงมุมแนว 45 องศา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารอยร้าวดังกล่าวเป็นสาเหตุจากการทรุดตัว
             2. สังเกตรอยเชื่อมต่อระหว่างเสาและหัวเสา หากแยกแตกออกจากกันนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารอยร้าวดังกล่าวเป็นสาเหตุจากการทรุดตัว

            อาคารที่มีการทรุดตัวนั้น หากต้องการทราบว่าอาคารมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องหรือไม่ มากน้อยเพียงใด สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้กระจกที่ความหนาไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ขนาด 7x7 เซนติเมตร ปิดทับระหว่างรอยแยกของอาคาร หากพบว่ากระจกมีรอยร้าวหลังจากทำการทดสอบ แสดงให้เห็นว่าอาคารยังมีการทรุดตัวอยู่ ต้องรีบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยปรึกษาวิศวกรที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ให้เป็นผู้ตรวจสอบและวิเคราะห์ถึงปัญหา พร้อมทั้งแก้ไขอาการวิบัติของอาคารดังกล่าว 


แบบอาคารพาณิชย์ 14 แบบ พร้อมร้าน 7-eleven หลังนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่สะสมแบบบ้าน หรือกำลังที่จะก่อสร้างบ้าน ต้องยกเครดิตให้ท่าน kunpichet    สมาชิกชมรมช่างท้องถิ่นเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ส่งมอบผลงานการเขียนแบบดีๆแบบนี้ให้เราได้นำไปต่อยอดกัน  หวังว่าคงถูกใจท่านที่ต้องการหาแบบบ้าน ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมเยียนFacebook ของทางชมรมฯกันบ้างนะครับ

6 ความคิดเห็น: